แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ (ใช้แผนมายแมพ)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
๑.นักเรียนสามารถอธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสมเหตุสมผล
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
๑. นักเรียนมีทักษะกระบวนการในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๑. นักเรียนเห็นความสำคัญของเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลต่อพระพุทธศาสนา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่เนื้อหา
๑. ครูสอบถามนักเรียนว่าเคยได้เรียนรู้เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านมาก่อนหรือไม่ ถ้าไม่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้านจะเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ
ขั้นสอน
๒. นักเรียนเเบ่งกลุ่มออก ๓ กลุ่ม กลุ่มละ ๗ - ๘ คน ทำมายแมพ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ในประเด็นต่อไปนี้
๒.๑ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศพม่า
๒.๒ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย
๒.๓ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย
๒.๔ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์
๒.๕ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศลาว
๒.๖ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศกัมพูชา
๒.๗ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
๓. ครูให้ความรู้เเก่นักเรียนโดยการนำเสนอในรูปเเบบพ้อยนำเสนอ เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๗ ประเด็น
๔. ครูเเจกอุปกรณ์เพื่อทำกิจกรรมมายแมพให้เเก่นักเรียนเเต่ละกลุ่มดังนี้
๔.๑ กระดาษหน้าขาวหลังเทาแผ่นใหญ่
๔.๒ ปากกาเมจิกคละสี กลุ่มละ ๕ แท่ง
๔.๓ ใบความรู้เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๗ ประเด็น
๕. นักเรียนอภิปรายผลงานของกลุ่มตนเองหน้าชั้นเรียน
๖. ครูเเละนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านในประเด็น ดังต่อไปนี้
๖.๑ ถ้าไม่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้านจะเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ
แนวคำตอบ
๖.๑.๑ ประเทศเพื่อนบ้านจะไม่มีการนับถือหรือรู้จักกับศาสนาพุทธ เพราะ ผู้คนนับถือพุทธอาจมีจำนวนผู้ศรัทธาที่จำกัดอยู่แค่ในอินเดียและประเทศเท่านั้นเอง
๖.๑.๒ ประเทศเพื่อนบ้านอาจจะมีทั้งผู้คนนับถือ รู้จัก หรือ ไม่มีการนับถือรู้จัก เพราะการรับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวอินเดีย
๖.๒ นักเรียนคิดว่าสาเหตุใดที่ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวคำตอบ
๖.๒.๑. เพราะ พระเจ้าอโศกมหาราชส่งคณะธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในภูมิภาคต่าง ๆ
ขั้นสรุป
๗. นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านคนละ ๑ ประเด็น
การจับกลุ่มแบบนันทนาการ
การทำงานแบบกลุ่มตามหัวข้อที่นักเรียนได้พร้อมนำเสนอ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ (ใช้เกมบิงโก)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
๑. นักเรียนสามารถตอบคำถามเรื่องการทำสังคยานาได้ถูกต้องโดยใช้เกม
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
๑. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามและร่วมมือในการทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๑. นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
ชิ้นงาน / ภาระงาน
๑. ให้นักเรียนทำกิจกรรมด้วยเกม
สาระการเรียนรู้
๑.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๘. มีจิตสาธารณะ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. มีความสามารถในการสื่อสาร
๒. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่เนื้อหา
๑. ครูบอกกฎกติกาในการทำกิจกกรมการเรียนรู้ด้วยเกมให้เเก่นักเรียนได้รับทราบ
๒. ครูบอกวิธีการเล่นเกมเเละการเเข่งขัน
ขั้นสอน
๓. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ออกเป็น ๕ กลุ่มหรือมากกว่านั้น พร้อมตั้งชื่อกลุ่มตามที่กลุ่มตกลงกัน
๔. ครูแจกอุปกรณ์การเล่น คือ บัตรสี ให้เเก่นักเรียนเเต่ละกลุ่ม ไว้เพื่อใช้เป็นคำตอบ
๔.๑ บัตรสี ใช้สำหรับเเสดงคำตอบ
๔.๒ ตารางคำตอบบิงโก
๕. ครูขึ้นคำถามบนกระดานหรือโปรเจกเตอร์ให้นักเรียนหาคำตอบข้อละไม่เกิน ๑ นาที
๖. กลุ่มที่บิงโกก่อนคือผู้ชนะบิงโก เป็นลำดับที่ ๑ ,๒ , ๓
๗. กลุ่มที่ตอบคำถามถูกมากที่สุดคือผู้ชนะลำลับที่ ๑ ,๒ , ๓
ขั้นสรุป
๘. นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านคนละ ๑ ประเด็น
เล่มเกมบิงโกตอบคำถามใน Kahoot
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ (ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
๑. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
๑. นักเรียนมีทักษะกระบวนการในการเเสวงหาความรู้โดยการเเลกกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๑. นักเรียนเห็นความสำคัญในการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ชิ้นงาน / ภาระงาน
๑. นักเรียนแสวงหาความรู้โดยการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนากับเพื่อน ๆ
๒. นักเรียนออกมานำเสนอข้อมูลผลงานของนักเรียนหน้าชั้นเรียน
สาระการเรียนรู้
๑. ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๘. มีจิตสาธารณะ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. มีความสามารถในการสื่อสาร
๒. มีความสามารถในการคิด
๓. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่เนื้อหา
๑. ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ในชั่วโมงนี้ให้กับนักเรียน
ขั้นสอน
๒. นักเรียนเเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔ - ๕ คน พร้อมจับฉลากเลือกหัวข้อ
๓. ครูเเจกใบความรู้และใบงานให้กับนักเรียนเเต่ละกลุ่มในหัวข้อดังนี้
๓.๑ พระพุทธศาสนาช่วยสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
๓.๒ พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย
๓.๓ พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์และมรดกของสังคมไทย
๓.๔ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
๓.๕ พระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคม
๔. นักเรียนศึกษาหาความรู้และสรุปเนื้อหาจากใบความรู้ของกลุ่มตนเองโดยให้อ่านให้เพื่อนในกลุ่มฟังสลับกันไปจนครบทุกคนให้เพื่อนในกลุ่มเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่มของตนเองก่อน
๕. นักเรียนเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากลุ่มอื่นๆนอกเหนือจากประเด็นของตนเองจนครบทั้ง ๕ ประเด็นที่ได้กำหนดไว้
๖. ครูเเละนักเรียนร่วมกันอภิปรายในเเต่ละประเด็นจนครบทั้ง ๕ ประเด็น
๗. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในประเด็นดังต่อไปนี้
๗.๑ ถ้าพระเจ้าอโศกมหาราชไม่นำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการปกครองประเทศจะเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ
๗.๑.๑ คนในประเทศจะขาดสัมพันธไมตรีกัน เพราะไม่รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน คิดจะเอาแต่ประโยชน์ของตนจนไม่สนใจผู้อื่น
๗.๑.๒ ประเทศอาจจะเกิดการทำสงครามกันอยู่ เพราะการล่าอาณาจักรกัน ซึ่งยังไม่มีความสันติกัน
๗.๒ ถ้าไม่มีการสร้างสัมพันธไมตรีกันตามหลักสาราณียธรรมกันระหว่างประเทศ จะเกิดผลเสียหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ
๗.๒.๑. เกิด เพราะ จะไม่มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ ถ้าเกิดประสบภัย เช่น อุทกภัย ทุพภิกขภัย และโรคระบาด เป็นต้น จะไม่มีการส่งเครื่องอุปโภคหรือรักษาโรคให้กัน
๗.๒.๒ เกิด เพราะ จะเกิดการทำสงครามกันจากการโจมตีการประเทศอื่น ไม่มีความปรารถนาดีต่อกัน
ขั้นสรุป
๘. นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านคนละ ๑ ประเด็น
สรุปข้อมูลในกลุ่มของตนเองพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ (ใช้ใบงานดอกไม้)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง พุทธประวัติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
๑. นักเรียนสามารถอธิบายเรื่องราวการผจญมาร การตรัสรู้และการสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ เรื่องราวการผจญมาร การตรัสรู้และการสั่งสอนทางพุทธประวัติได้อย่างสมเหตุสมผล
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
๑. นักเรียนมีทักษะกระบวนการในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องราวการผจญมาร การตรัสรู้และการสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
๑. นักเรียนเห็นความสำคัญของเรื่องราวการประสูติ การตรัสรู้และปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีผลต่อพระพุทธศาสนา
ชิ้นงาน / ภาระงาน
๑. ให้นักเรียนทำสื่อดอกไม้
๒. นักเรียนออกมานำเสนอข้อมูลผลงานของนักเรียนหน้าชั้นเรียน
สาระการเรียนรู้
๑. พุทธประวัติ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๘. มีจิตสาธารณะ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. มีความสามารถในการสื่อสาร
๒. มีความสามารถในการคิด
๓. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่เนื้อหา
๑. ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้ในชั่วโมงนี้ให้กับนักเรียน
ขั้นสอน
๒. นักเรียนเเบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๘ - ๙ คน พร้อมจับฉลากเลือกหัวข้อ
๓. ครูเเจกใบความรู้และใบงานให้กับนักเรียนเเต่ละกลุ่มในหัวข้อดังนี้
๓.๑ ผจญมาร
๓.๒ การตรัสรู้
๓.๓ การสั่งสอน
๔. นักเรียนอภิปรายผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน
๕. ครูเเละนักเรียนร่วมกันอภิปรายในเเต่ละประเด็นจนครบทั้ง ๓ ประเด็น
๖. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เรื่องพุทธประวัติ ในประเด็นดังต่อไปนี้
๖.๑ เพราะเหตุใด หลังการตรัสรู้พระพุทธองค์จึงทรงตั้งพระทัยมั่นคงว่าจะต้องแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เท่านั้น
แนวคำตอบ
๖.๑.๑ พระพุทธองค์ทรงเลือกแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นหลัก 3 หลักคือ กตัญญู ปรนนิบัตติติดตามของปัญจวัคคีย์ เพื่อมุ่งหวังที่จะเผยแพร่ข้อมูล
๖.๒ นักเรียนสามารถนำวิธีในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้กับการเรียนได้อย่างไร
แนวคำตอบ
๖.๒.๑. การรู้จักสังเกต ตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวเพื่อนที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
๖.๒.๒ ความเพียร พยายาม อดทนฝึกฝนในทักษะใดทักษะหนึ่งเพื่อให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน
ขั้นสรุป
๗. นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวการผจญมาร การตรัสรู้และการสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
๑. ใบความรู้
การจับกลุ่มแบบนันทนาการ
การทำกิจกรรมใบงานดอกไม้
การอภิปรายผลงานของตนเอง
พญาวัสสวดีมารนำทัพมารเข้าขัดขวางการตรัสรู้ของพระสิทธัตถโคดม
ขณะนั้น ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช หรือท้าววสวัตตี ได้สดับเสียงเทพเจ้าบันลือเสียงสาธุการ ก็ทราบชัดในพระทัยว่า พระมหาบุรุษจะตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ทำลายบ่วงมารที่เราวางขึงรึงรัดไว้ แล้วหลุดพ้นไปได้ ก็น้อยใจ คิดฤษยา เคียดแค้น ป่าวประกาศเรียกพลเสนามารมากกว่ามาก พร้อมด้วยสรรพาวุธและสรรพวาหนะที่ร้ายแรงเหลือที่จะประมาณเต็มไปในท้องฟ้า ท้าววสวัตตีประทับบนหลังช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์ อันเป็นคชสารพาหนะสูง 150 โยชน์ นิรมิตร่างของตนให้สูงใหญ่ มีมือนับพัน ถือศาสตราวุธพร้อมสรรพ นำพลเหล่าเสนามารอันมีจำนวนประมาณมิได้ พากันตะโกนโห่ร้องเหาะเรียงรายกันมามืดฟ้ามัวดิน เข้าล้อมเขตบัลลังก์ของพระมหาบุรุษเจ้าไว้อย่างแน่นหนา จนบรรดาเหล่าเทพยดาที่ถวายนมัสการพระมหาบุรุษเกิดความเกรงกลัวพากันเหาะหนีไปยังขอบจักรวาลจนหมดสิ้น
ท้าววสวัตตีสั่งเหล่าไพร่พลให้ล้อมเขตรัตนบัลลังก์ไว้อย่างแน่นหนา แต่พระมหาบุรุษแม้จะอยู่ลำพังเพียงพระองค์เดียวก็มิได้สะดุ้งหวาดกลัว ทรงระลึกถึงบารมีธรรมทั้ง 30 ทัศ ซึ่งเป็นดุจทหารที่แก่นกล้า มีศัตราวุธครบครัน สามารถผจญกับหมู่มาร ขับไล่ให้ปราชัยหนีไปให้สิ้นเชิงได้ และพร้อมกันมารับอาสาอยู่พร้อมมูลเช่นนั้น ก็ทรงโสมนัส ประทับนิ่งอยู่ โดยมิได้สะทกสะท้านแต่ประการใด
ครั้นท้าววสวัตตีเห็นการใช้วิธีข่มขู่มิได้สร้างความหวั่นไหวหรือสะดุ้งหวาดกลัวให้เกิดขึ้นได้ จึงสั่งเหล่าไพร่พลซัดสาดศาสตราวุธเข้าใส่หมายทำอันตรายต่อพระมหาบุรุษ แต่ศาสตราวุธเหล่านั้นกลับกลายเป็นบุปผามาลัยบูชาพระองค์จนหมดสิ้น ท้าววสวัตตีจึงไสช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์เข้าไปใกล้เขตโพธิมณฑล กวัดแกว่งสรรพอาวุธที่มีอยู่ในมือทั้งพันเพื่อแสดงเดชอำนาจแห่งตนพร้อมตะโกนประกาศก้องว่า “ดูกร สิทธัตถะราชกุมาร รัตนบัลลังก์นี้เป็นของเรา เกิดขึ้นด้วยบุญเรา เป็นของสำหรับเรา ไพร่พลเสนามารนี้เป็นพยานได้ ท่านเป็นคนไม่มีบุญ ไม่สมควรจะนั่ง จงลุกไปเสียโดยเร็ว ดังนั้นท่านจงเร่งลุกออกไป”
ฝ่ายพลมารเมื่อได้ยินดังนั้นจึงพากันส่งเสียงโห่ร้องรับสมอ้าง พระมหาบุรุษ จึงเปล่งสีหนาทตอบว่า “ดูกร พญามาร รัตนบัลลังก์นี้เป็นของเรา เกิดขึ้นด้วยบุญเราอันสั่งสมแต่ปางก่อน ดังนั้น เราผู้เดียวเท่านั้น สมควรจะนั่ง ผู้อื่นไม่สมควรเลย”
ท้าววสวัตตีก็คัดค้านว่า ที่พระมหาบุรุษรับสั่งมานั้น ไม่เป็นความจริง ให้พระองค์หาพยานมายืนยันว่า พระองค์ได้บำเพ็ญกุศลมาจริง ให้ประจักษ์เป็นสักขีพยานในที่นี้
เมื่อพระมหาบุรุษไม่เห็นผู้อื่นใด ใครจะกล้ามาเป็นพยานยืนยันในที่นี้ได้ จึงตรัสเรียกนางวสุนธรา พระแม่ธรณีว่า “ดูกร วสุนธรา นางจงมาเป็นพยานในการบำเพ็ญกุศลของเราในกาลบัดนี้ด้วยเถิด”
ทันใดนั้น นางวสุนธรา พระแม่ธรณี ก็ชำแรกแทรกพื้นปฐพีปราฏกกายขึ้นกระทำอัญชลีถวายอภิวาทต่อพระมหาบุรุษ แล้วเปล่งวาจาประกาศเป็นพยานในการบำเพ็ญมหากุศลของพระองค์ แม้แต่เพียงน้ำตรวจอุทิศที่นางเอามวยผมรองรับไว้บนเศียรเกล้า ก็มีมากพอจะนำมาเป็นหลักฐานพยานได้ เมื่อกล่าวแล้วนางวสุนธราก็ประจงหัตถ์อันงามปล่อยมวยผม บีบน้ำตรวจอุทิศผลมหากุศลที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงสะสมไว้แต่อเนกชาติให้ไหลหลั่งออกมาเป็นทะเลหลวงท่วมนองไปทั่วบริเวณ ยกเว้นเขตรัตนบัลลังก์ กระแสน้ำบ่าออกท่วมทับเสนามารทั้งปวงให้จมลงวอดวาย กำลังน้ำได้ทุ่มซัดพัดช้างพระที่นั่งคีรีเมขล์ให้ถอยล่นลงไปติดขอบจักรวาล
ท้าววสวัตตีและเหล่าไพร่พลเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงอยู่ ณ ที่นั้นได้ ถูกกระแสน้ำพัดพาไปจนสุดขอบจักรวาล ท้าววสวัตตีเห็นอานุภาพแห่งบารมีของพระมหาบุรุษก็เกิดความหวาดกลัว ด้วยมิได้เคยเห็นมาแต่กาลก่อน ก็ยกมือขึ้นประนมถวายนมัสการยอมรับความปราชัยพ่ายแพ้บุญบารมีของพระมหาบุรุษ แล้วเหล่ากองทัพมารทั้งหลายก็อันตรธานหายไป
เมื่อพระมหาบุรุษทรงกำจัดมารและเสนามารให้ปราชัยด้วยพระบารมี ตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันที่พระอาทิตย์จะอัศดงคต ก็ทรงเบิกบานพระทัย ได้ปิติเป็นกำลังภายในสนับสนุน เพิ่มพูนแรงปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้น พระมหาบุรุษจึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลา ทรงเจริญสมาธิภาวนา ทำจิตให้แน่วแน่ ปราศจากอุปกิเลส จนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน ซึ่งเป็นส่วนรูปสมาบัติ เป็นลำดับ จนถึงอรูปสมาบัติ 4 บริบูรณ์.
ต่อนั้น ก็ทรงเจริญฌาน อันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูงทั้ง 3 ประการ ยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้นเป็นลำดับ ตามระยะกาลแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้น คือ ในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ บางแห่งเรียกว่า ทิพพจักษุ สามารถหยั่งรู้การเกิดการตาย ตลอดจนการเวียนว่ายของสัตว์ทั้งหลายอื่นได้หมด ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงปรีชาสามารถทำอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยพระปัญญา พิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ก็ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาปัจจุบันสมัย รุ่งอรุโณทัย ทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้ อย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อนตลอดกาล ถึงกับทรงอุทาน เย้ยตัณหา อันเป็นตัวการณ์ก่อให้เกิดสังสารวัฏฏทุกข์แก่พระองค์แต่เอนกชาติได้ว่า " อเนกชาติ สํสารํ เป็นอาทิ ความว่า นับแต่ตถาคตท่องเที่ยว สืบเสาะหาตัวนายช่างผู้กระทำเรือน คือ ตัวตัณหา ตลอดชาติสงสารจะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบพาน ดูกรตัณหา นายช่างเรือน บัดนี้ ตถาคตพบท่านแล้ว แต่นี้สืบไป ท่านจะทำเรือนให้ตถาคตอีกไม่ได้แล้ว กลอนเรือน เราก็รื้อออกเสียแล้ว ช่อฟ้า เราก็ทำลายเสียแล้ว จิตของเราปราศจากสังขาร เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว ได้ถึงความดับสูญสิ้นไปแห่งตัณหา อันหาส่วนเหลือมิได้โดยแท้ "
ขณะนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมี พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็หวั่นไหว พฤษาชาติทั้งหลายก็ผลิตดอกออกช่องามตระการตา เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่สร้องสาธุการ โปรยปรายบุบผามาลัยทำการสักการบูชา เปล่งวาจาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดี เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีในกาลก่อน
ปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ วันเพ็ญเดือน 8 คือวันอาสาฬหบูชานั่นเอง ซึ่งกล่าวถึงที่สุด 2อย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรปฏิบัติ คือการลุ่มหลงมัวเมาในกาม 1 การทรมาณตนให้ลำบากเปล่า 1 มัฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่ควรดำเนิน คืออริยสัจจสี่และมรรคมีองค์แปด 1
ท่านโกณฑัญญะ ก็ได้ “ธรรมจักษุ” คือดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า
อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ
— พระพุทธเจ้า
จากข้อความนั้นแปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก